post

รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2563

รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2563

ประเทศไทย ผู้ติดเชื้อสะสม 1,875 ราย
เพิ่มขึ้น 104 ราย
เสียชีวิตรวม 15 ราย

post

ด่วน! กทม.สั่งปิดสวนสาธารณะทุกแห่ง-ร้านค้าทุกประเภทเที่ยงคืน-ตีห้า เริ่มวันนี้ถึง 30 เม.ย.

ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หรือ ศบค.ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษก กทม. แถลงว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร กทม.สั่งให้สำนักงานเขตเปิดบริการเฉพาะงานทะเบียน กทม. การแจ้ง การเกิดการตาย การตรวจคัดรับรองทะเบียนราษฎร การตรวจคัดรับรองสำเนาทะเบียนบัตร จดทะเบียนสมรส และจดทะเบียนหย่า จะยังให้บริการตามเดิม ส่วนบริการอื่นจะของดบริการ ในส่วนหยุดราชการจะงดการบริการเรื่องอื่น ยกเว้น การแจ้งเกิด แจ้งตายเท่านั้น แต่หากเกิดกรณีเร่งด่วนจะพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนบัตรประชาชนที่หมดอายุยังใช้ได้ถึง 31 ก.ค. ส่วนบัตรหายให้คัดสำเนาบัตรเก่าที่สำนักงานเขตใช้ก่อนชั่วคราว

2.ยกเว้นค่าแผงสำหรับผู้เช่าแผงค้า ผู้เช่าห้องสุขา ผู้เช่าที่จอดรถของตลาดในกำกับดูแลของ กทม.10 แห่งตลาดนัดเมืองมีน ตลาดธนบุรี ตลาดเทวราช ตลาดประชานิเวศน์1 ตลาดหนองจอก ตลาดบางกะปิ ตลาดพระวงเวียนเล็ก ตลาดรัชดาพิเศก ตลาดสิงหา ตลาดราชบูรณะ โดยจะยกเว้นค่าเช่าตั้งแต่มี.ค.จนกว่าสถานการณ์จะปกติ ส่วนตลาดนัดจตุจักร กทม.ได้รับสัญญาเช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดย กทม.จะทำหนังสือไปยัง รฟท.ขอยกเว้นค่าเช่าตั้งแต่ มี.ค.-พ.ย. เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่า รฟท.จะร่วมมือกับ กทม.

3. จะออกประกาศฉบับที่ 5 ควบคุมเวลาเปิดและปิดสถานที่ตั้งแต่ 05.01 – 24.00 น. คือ ร้านสะดวกซื้อ 7-11 แฟมิลี่มาร์ท หรือร้านโชว์ห่วยทุกร้าน และซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอย จะขอให้ทุกร้านมีการบริการในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องการให้ทุกร้านเหล่านี้ ให้มีช่วงเวลาในการทำความสะอาด 24.00- 05.01 น. ท ความสะอาดอย่างเคร่งครัดและถูกสุขลักษณะอนามัย

นอกจากนี้ยังให้ปิดสวนสาธารณะทั้งของรัฐและเอกชน เช่น สวนชุมชน เพราะสวนสาธารณะบางแห่งยังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการรวมคน ทั้งนั่งกินข้าวและทำกิจกรรมออกกำลังกาย กทม.จึงขอให้ปิดสถานที่เหล่านี้ก่อน จะให้มีผลในวันที่ 2-30 เม.ย.นี้

“กทม.เข้าใจดีว่ามาตรการที่ออกมาจะทำให้เกิดความไม่สะดวกและความไม่สบายใจในชีวิต แต่ขอให้เข้าใจว่าเราต้องลดการรวมตัวของคนมากที่สุด ให้คนอยู่บ้านมากที่สุด ขอให้สัญญาว่าจะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเร็วที่สุด และ ทุกสถานที่ที่ กทม.สั่งปิดจะมีการประเมินตลอดเวลา หากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ ยืนยันว่าสามารถเปิดได้แล้วและสถิติติดเชื้อลดลง จะพิจารณาเปิดให้เร็วที่สุด”

https://www.prachachat.net/general/news-442179

post

รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 1 เมษายน 2563

รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประจำวันที่ 1 เมษายน 2563

1. สถานการณ์ทั่วโลกใน 200 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 2 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 1 เมษายน 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 856,910 ราย เสียชีวิต 42,107 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 81,518 ราย เสียชีวิต 3,305 ราย สหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย 187,340 ราย เสียชีวิต 3,860 ราย อิตาลีพบผู้ป่วย 105,792 ราย เสียชีวิต 12,428 ราย

2. สถานการณ์ในประเทศไทย (31 มี.ค.63 เวลา 16.00 น.) ผู้ป่วยกลับบ้านได้ 74 ราย ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 120 ราย นับเป็นลำดับที่ 1,652- 1,771 จำแนกเป็นกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 51 ราย มีรายละเอียด ดังนี้

1.1 สนามมวย 1 ราย

1.2 สถานบันเทิง 11 ราย

1.3 สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 38 ราย

1.4 ร่วมพิธีทางศาสนาที่มาเลเซีย 1 ราย

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 39 ราย มีรายละเอียด ดังนี้

2.1 เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ 24 ราย (เป็นคนไทย 22 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้เดินทางร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่ประเทศอินโดนีเซีย 16 ราย / ชาวต่างชาติ 2 ราย)

2.2 อาชีพเสี่ยง 14 ราย

2.3 บุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย (สะสม 25 ราย)

กลุ่มที่ 3 ได้รับผล lab ยืนยันพบเชื้อ อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 30 ราย

ได้รับรายงานผู้ป่วยอาการหนัก 23 ราย เสียชีวิต 2 ราย

รายที่ 1 เป็นชายไทย อายุ 79 ปี มีประวัติโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มีประวัติการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย พบภาวะปอดอักเสบ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลยะลา เสียชีวิตวันที่ 31 มีนาคม 2563

รายที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 58 ปี มีประวัติเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เสียชีวิตวันที่ 31 มีนาคม 2563

โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 416 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,343 ราย เสียชีวิตรวม 12 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 1,771 ราย

 

post

เพิ่งเข้าใจว่าสบู่ 20 วินาที ดีกว่าแอลกอฮอล์

เพิ่งเข้าใจว่าสบู่ 20 วินาที ดีกว่าแอลกอฮอล์

CDC สหรัฐให้ความสำคัญกับสบู่และน้ำเป็นอันดับแรก แต่หลายคนอาจสงสัยว่าสบู่ธรรมดาจะช่วยกำจัดเชื้อไวรัสได้อย่างไร

เรื่องนี้ พัลลี ธอร์ดาร์สัน นักเคมีจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียมีคำตอบ

ธอร์ดาร์สันเผยไว้ในทวิตเตอร์ว่า สบู่เปรียบเสมือนทีมทำลายล้างที่เข้าไปทำลายตึกด้วยการพังทลายอิฐทีละก้อน เพราะฉะนั้นการล้างมือจึงไม่เพียงแต่เป็นการล้างเชื้อไวรัสออกจากมือเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายไวรัสด้วย

ธอร์ดาร์สันยังอธิบายขยายความความสำคัญและการทำงานของสบู่กับเว็บไซต์ Vox ว่า สบู่จะมีสองขั้ว ขั้วหนึ่งจะชอบน้ำแต่ไม่ชอบโปรตีนและไขมัน อีกขั้วหนึ่งไม่ชอบน้ำแต่ชอบโปรตีนและไขมัน คุณสมบัติข้อนี้ทำให้สบู่มีประสิทธิภาพที่สุด

ศาสตราจารย์รายนี้ยกตัวอย่างการทำงานของสบู่ว่า หากหยดน้ำมันลงในน้ำ น้ำมันจะรวมตัวกันลอยอยู่เหนือน้ำ เพราะน้ำมันไม่รวมตัวกับน้ำ แต่หากหยดน้ำสบู่ลงไป น้ำมันจะกระจายตัว

นั่นเป็นเพราะสบู่ขั้วที่ชอบไขมันจะไปจับกับน้ำมัน ส่วนขั้วที่ชอบน้ำก็จะดึงไขมันไปรวมกับน้ำ ทำให้น้ำมันแตกตัว

หรือจะสรุปง่ายๆ ก็คือสบู่จะเข้าไปล้อมรอบน้ำมัน แล้วแยกน้ำมันที่รวมตัวกันอยู่ให้กระจายออก

หลักการนี้ใช้ได้ผลกับเชื้อโคโรนาไวรัสเช่นกัน เนื่องจากเชื้อจะถูกล้อมรอบด้วยไขมันและโปรตีน

เมื่อเจอสบู่ ไขมันเหล่านี้จะถูกแยกออกจากกัน และแม้จะมีส่วนที่เข้าไปรวมตัวกับไขมัน แต่โปรตีนและไขมันที่เป็นเกราะป้องกันโคโรนาไวรัสจับตัวกันอยู่หลวมๆ ทำให้สบู่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโคโรนาไวรัสได้ง่ายดาย

เมื่อเกราะคุ้มกันแตกเชื้อไวรัสก็แตกออกด้วย และหมดฤทธิ์ไปในที่สุด

ธอร์ดาร์สันยังเผยอีกว่า เงื่อนไขสำคัญก็คือ ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องใช้เวลา และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที

นอกจากนี้ ผิวหนังบนมือของเรายังเต็มไปด้วยรอยย่อนรอยพับต่างๆ ดังนั้นกว่าสบู่จะซึมเข้าไปยังซอกเล็กๆ และกำจัดไวรัสหรือเชื้อโรคที่ซุกซ่อนอยู่จึงต้องใช้เวลาครู่หนึ่ง

ส่วนแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในแอลกอฮอล์เจลก็สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้เช่นกัน โดยใช้หลักการทำงานคล้ายกับสบู่ แต่ต้องใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูงจึงจะมีประสิทธิภาพ และอาจไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าสบู่

ทว่า หากมือเปียกหรือมีเหงื่อขณะใช้แอลกอฮอล์เจล ประสิทธิภาพการกำจัดไวรัสก็จะลดลง เนื่องจากถูกน้ำหรือเหงื่อเจือจาง

“สบู่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสูตรไหน และไม่จำเป็นต้องเป็นสบู่สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพียงสบู่ทั่วไปก็ได้ผลแล้วตราบเท่าที่เราล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที” ธอร์ดาร์สันอธิบายทิ้งท้าย

เพิ่งเข้าใจว่าสบู่ 20 วินาที ดีกว่าแอลกอฮอล์🤔🤔🤔

post

บริการตรวจคัดกรอง ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 สำหรับบุคลากรจุฬาฯ และบุคคลทั่วไป

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ด้วยระบบนวัตกรรมบริการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 แบบรวดเร็ว (Chula  Covid-19 Strip Testสำหรับบุคลากรจุฬาฯและบุคคลทั่วไป ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00  น. ที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9

สำหรับบุคคลทั่วไปที่คาดว่าตนเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อนัดหมายการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองเชื้อ COVID-19 เท่านั้น โดยผู้ที่ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าจะไม่สามารถเข้ามาขอรับบริการได้ ทั้งนี้ ในระยะแรกสามารถให้บริการได้ กลุ่มละ 50 คนต่อวัน

ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจด้วย Chula COVID-19 Strip Test สำหรับบุคคลทั่วไป

  1. ลงทะเบียนทางออนไลน์ผ่าน Application ที่ http://covid19.thaitechstartup.org/ เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  2. หากได้รับการวิเคราะห์แล้วว่ามีความเสี่ยงมากหรือปานกลาง จะได้รับการแจ้งนัดหมายให้มารับบริการที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ
  3. จะมีการจัดลำดับการให้บริการและวิธีเข้ามารับบริการที่ศูนย์บริการสุขภาพฯ อย่างปลอดภัยตามมาตรการ Social Distancing รวมทั้งมีระบบรองรับในการให้คำปรึกษา
  4. ในกรณีที่มีผลการตรวจเลือดเป็น Positive (ติดเชื้อ) ก็จะมีช่องทางที่รวดเร็วในการส่งไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันอีกครั้งที่โรงพยาบาลต่อไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรสายด่วน COVID-19 ศูนย์บริการสุขภาพ แห่งจุฬาฯ โทร. 080-441-9041 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือ 0-2218-0568 (เวลา 08.00 -17.00 น.)